วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

เก็บตกงานเสวนา “แจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ลดหรือเพิ่มปัญหาสังคม” ภาค 2

        ต่อกันที่แพทย์หญิงจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นะคะ  ท่านนี้ถูกใจเป็นพิเศษเก็บรายละเอียดมากเยอะฮ่าๆๆ คุณหมอบอกว่าเด็ก ๆ ที่สมองดีมาก เขาจะสามารถเปลี่ยนรูปธรรมเป็นนามธรรมเองได้  ส่วนหนึ่งมันก็อยู่ที่เราที่จะต้องช่วยกันเสริมสร้างศักยภาพของสมองลูก ๆ หลาน เราด้วยนะคะ เสริมสร้างพัฒนาการให้สมวัย

        ท่านได้ร่วมทำงานวิจัยเกี่ยวกับสมองเด็กไทย พบว่าเด็กไทยมีความสามารถในการเรียนรู้น้อยลง IQ ต่ำลงเรื่อยๆ  จากครั้งแรกที่ทำการสำรวจ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 92  อีก 5 ปีไปสำรวจอีกเหลือ 89 และตัวเลขล่าสุดคือ 87  เป็นตัวเลขที่น่าตกในนะคะ เด็กไทยไอคิวลดลงต่ำลงเรื่อยๆ  สงสัยกันไหมค่ะว่าทำไม  ลองคิด ๆ กันดูซิค่ะ ว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากอะไรได้บ้าง  ทั้ง ๆ ที่หากวัดไอคิวเด็กแรกเกิดของไทยไม่แพ้ชาติใดไหนโลกเลยนะคะ คุณหมอบอกว่าไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 130 กว่า ๆ ซึ่งคุณหมอบอกว่าสูงกว่าบางประเทศเสียอีก

                ใครเป็นคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองทั้งหลายอย่างนิ่งนอนใจนะคะ ตัวเลขเหล่านี้กำลังบอกอะไรเรา เราควรจะต้องทำอะไร อย่างไร เพื่อให้สมองของลูก ๆ หลาน ๆ ของคุณไม่เป็นดังเช่นสถิติตัวเลขดังกล่าว  ทราบ ๆ กันดีว่าสมองในช่วงวัย 0- 6 ปีแรกเป็นวัยโอกาสทองของชีวิต ได้ยิน ได้อ่านกันบ่อย ๆ  เราให้ความสนใจกับช่วงวัยนี้กันเป็นอย่างมาก  แล้วหากลูก  ๆ หลาน ๆ ท่านเลยวัยนี้ไปแล้วท่านก็เริ่มนอนใจ ชิว ๆ อะไรก็ได้แล้วหรือเปล่าค่ะ   คิดแบบว่าก็ทำดีตอนต้นแบบสุดๆ แล้ว ตอนที่เลยวัยโอกาสทองไปแล้วก็อะไรยังไงก็ได้ เหนื่อยแล้ว ทุ่มเทมากแล้ว คงอยู่ตัวแล้วแหละ  สบาย ๆ เรื่อย ๆ ดีกว่า มีใครคิดแบบนี้ หรือทำแบบนี้บ้างไหมค่ะ  

        ทุกวินาที ทุกช่วงวัยของลูก หลาน ของเรามีค่าเสมอ อยากให้คิดว่าทุก ๆวัน ทุก ๆ วัย มีความสำคัญไม่แพ้กันเลย  อยากให้ใส่ใจดูแลกันให้เต็มที สม่ำเสมอ เช่นมีใครลูกอายุเกิน 6 ขวบแล้ว หรือลูกอ่านหนังสือเองได้แล้ว ก็เลิกเล่านิทานให้ลูกฟัง เลิกอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังบ้างค่ะ   แม่ดาวเคยฟังมานะคะ การที่เด็กที่อ่านหนังสือได้แล้ว หรือเราคิดว่าเขาโตมากแล้ว เขาก็ยังต้องการให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครองอ่านหนังสือนิทานให้ฟังอยู่ดี  แต่ก็อาจมีเด็กบางคนเนอะที่อาจจะอยากอ่านให้เราฟังเอง   การอ่านนิทานไม่ใช่แค่การเล่าเรื่องสนุก ๆ เป็นกิจกรรมสร้างความบันเทิงกับลูกเท่านั้น  มันยังเป็นการสร้างสายใยความผูกพันธ์ มันสื่อถึงความรัก ความอบอุ่น ความใส่ใจ ที่เรายังมีต่อเขา  มีบางท่านที่แม่ดาวเคยถามเขาก็บอกว่าลูกอ่านเองได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องการ ขี้เกียจจะอ่านบ้าง ปกติก็ไม่ได้อยากจะอ่าน แต่ที่อ่านเพราะเห็นว่ามันสำคัญ มันดี ต่อสมองลูก อันนี้ทำแบบตามหน้าที่เนอะ  อยากให้ใส่ใจ ใส่ความรู้สึก ใส่ความรักถ่ายถอดผ่านไปช่วงเวลาการอ่านนิทานด้วยค่ะ 

        ลูกแม่ดาวชอบให้แม่ดาวอ่านนิทานให้ฟังมาก ๆ  วันไหนโดนทำโทษ งดนิทาน เนี้ยถึงขั้นน้ำตาไหล เสียงสั่นพร่ากันเลยทีเดียว  แม่ดาวคิดว่าอาการพวกนี้ไม่ได้เกิดจากอาการลงแดงอยากฟังนิทานแสนสนุกเพียงอย่างเดียว แต่ตีความว่า เขารู้สึกว่าวันนี้เขาขาดความรัก ความใส่ใจส่วนนี้ไป มันหายไป ถึงต้องย้ำว่าหากทำโทษ ด้วยการงดนิทาน ก็อย่าไปพูดประมาณ เยาะเย้ย ถากถาง ซ้ำเติม เช่น “อยากไม่ทำตามข้อตกลงดีนัก  ก็ต้องเสียใจแบบนี้แหละ ทีหลังก็อย่าทำแล้วกัน” อะไรประมาณนี้ แต่ให้พูดประมาณว่า “แม่เข้าใจนะคะว่าลูกเสียใจ ผิดหวังที่ไม่ได้ฟังนิทาน  แต่พรุ่งนี้นะคะลูกมีโอกาสมีสิทธิ์ที่จะเลือกเองได้ว่าลูกจะได้ฟังหรือไม่ได้ฟังนิทานกับแม่  แม่ก็อยากเล่านิทานให้ลูกฟังใจจะขาดแล้วเนี้ย”  ประมาณ ๆ นี้ คือ บอกว่าเราเข้าใจความรู้สึกเขา  และให้เขาคิดทบทวนเองว่าพรุ่งนี้หากเขาอยากจะฟังนิทานเขาควรทำตัวอย่างไร  ไม่ต้องบอกตรง ๆ  แต่ทิ้งไว้ให้เขาคิดเอง  และยืนยันความสัมพันธ์ว่าอันที่จริงตัวเราก็อยากจะเล่านิทานให้ฟัง แต่ติดตรงที่เราตกลงกันไว้แล้ว เราต้องรักษาข้อตกลงนั้น อันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีให้เขาเห็นด้วยค่ะ ว่าหากเราพูดอะไรกับใครแล้วเราต้องรักษาคำพูดของเรา  “คำพูดเป็นนายเรา” แม่ดาวสอนเขาอย่างนั้น 

        คุณหมอกล่าวถึง หลักสูตรภาษาอังกฤษในสมัยก่อน ที่ได้เรียนภาษาอังกฤษกันตอน ป. 5  ฮ่าๆๆ แม่ดาวก็เรียนตอนนั้นเหมือนกัน คุณหมอบอกว่าไม่ต้องแปลกใจที่คนรุ่นนั้นไม่เก่งภาษาอังกฤษ เพราะหลักสูตรที่นำมาสอนนั้น เป็นหลักสูตรที่นำมาจากต่างประเทศ และเป็นหลักสูตรของเด็กปฐมวัย ที่นำมาสอนเด็กวัยประถมศึกษา เมื่อมันไม่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย ทำให้เด็ก ๆ เบื่อหน่าย ไม่สนใจที่จะเรียน เรียกว่าเร้าใจไม่พอให้สนใจฟังฮ่าๆๆ   อ่ะจริงนะเนี้ย.....นี่เพิ่งรู้อีก 1 เหตุผลที่ตัวเองเป็นปรปักษ์กับภาษาอังกฤษส่วนหนึ่งเป็นเพราะหลักสูตรไม่เหมาะกับเรานี่เอง  รู้เหตุผลเดียวคือไม่ชอบครูที่สอน ครูโหดมาก  ดุแบบไม่มีเหตุผล ฮ่าๆๆ  นินทาครูอีกเนอะ

        เอาเป็นว่า เท่าที่ฟังมาคุณหมอท่านนี้ คงไม่เห็นด้วยกับการแจกแท็บเล็ตกับเด็กป.1 แน่ ๆ  แท็บเล็ตก็คล้ายกับทีวี ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความรู้สึก ไม่มีสัมผัสได้ครบ ไม่มีมีความสามารถที่จะพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีให้เด็กวัยนี้  (แม่ดาวคิดว่าเด็กวัยอื่น ๆ ก็ไม่ค่อยจะเหมาะสมนัก)  มันก็คงทำได้แค่มีภาพกับเสียง มีแค่2 สัมผัส อ๋อ...มีนิ้วสัมผัสด้วยเนอะ อย่างไรก็ตามก็ไม่ครบ 6 สัมผัสที่คุณหมอบอกอยู่ดีแหละ  ยิ่งปฐมวัยด้วยนั้นยิ่งต้องเรียนรู้จากของจริง ผ่านการสัมผัสจริง ๆ อย่างสมบูรณ์ สมองถึงจะพัฒนาไปอย่างมีศักยภาพ  อย่าไปหวังพึ่งกับเทคโนโลยีมากนัก เราเป็นคน คนนี่แหละจะมีศักยภาพที่จะสอนคนให้เป็นคนที่มีประสิทธิภาพได้มากที่สุด

        เราผู้เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องเป็นคนวางรากฐาน ลงเสาเข็มของลูกของเราให้ดีมั่นคงเสียก่อน จากนั้นก็จะเป็นทางโรงเรียนที่จะช่วยเสริมต่อยอดความรู้ ความคิด จิตสำนึกต่าง ๆ ต่อไป แต่ก็ไม่ใช่ พอถึงวัยเข้าเรียนแล้ว ก็ทิ้งไว้ฝากสมองลูก ๆ หลาน ๆ เราไว้ให้ทางโรงเรียนดูแล  เราก็ยังต้องเป็นตัวหลักอยู่ดีนะคะแม่ดาวว่า  ส่วนหลังคาที่คุณหมอว่า คือเทคโนโลยี อันนี้ควรจะมาเป็นอันดับสุดท้าย ท้ายสุด เอาเป็นว่าให้รากฐานมั่นคง เตรียมความพร้อมกันให้ดี แล้วเรื่องเทคโนโลยีค่อยว่ากัน

        สมองเด็ก ๆ เนี้ยมหัศจรรย์มากนะคะ  แม่ดาวเคยมีหลานก็เคยทึ่งกับความคิด คำพูด การกระทำของเขามาแล้ว พอมาเจอกับตัวเองมีลูกเป็นของตัวเองจริง ๆ  ยิ่งอึ้ง ทึ่งกับสมองเด็ก ๆ เอาไว้จะกระจายประสบการณ์น่ารัก ๆ ของเจ้าเหล่าตัวน้อย ๆ   ความคิดบางอย่างของเขาพอพูดออกมาแล้ว ก็ทำให้เราถึงกับอึ้งไปนานเลย  ไม่คิดว่าเด็กน้อยวัยแค่นี้เขาจะคิดแบบนี้ได้  ดังนั้นอย่าประเมินศักยภาพของสมองลูก ๆ หลาน ๆ ของท่านต่ำนะคะ  การทำงานของสมองของเขาเนี้ยมหัศจรรย์ความคิดจริง ๆ

        ท่านที่ 3  ต่อมาคือ รองศาสตราจารย์นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก   คุณหมอท่านนี้ออกจะพูดถึงเกี่ยวกับเกมส์กับเด็กซะเยอะค่ะ  บอกว่าธุรกิจเกมส์ในบ้านเราพัฒนาและเติบโตไปรวดเร็วมาก ๆ และปัญหาที่พบในเด็กติดเกมส์ก็มีเพิ่มมากขึ้น ๆ

        เด็กวัยประถมศึกษาติดเกมส์กันเยอะมาก ต้องเสียเงินแต่ละวันไปหลายร้อยบาทกับการเล่นเกมส์ เช่นไปซื้อการ์ดเกมส์ และการ์ดเกมส์นี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อที่เราก็รู้จักคุ้นเคยกันดีที่แถว  ๆ บ้านของท่าน  ทุกอย่างง่ายไปหมดเนอะ  แม่ดาวเองไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการเล่มเกมส์เท่าไหร่  ไม่ใช่คนชอบเล่นเกมส์มากนัก แต่ก็เล่นบ้างค่ะ เมื่อก่อนที่เห็นจะชอบเล่นจริง ๆ จัง ๆ ก็เป็นเกมส์ The Sim มีใครเคยเล่นไหมน้อ  ฮ่าๆๆ สนุกนะ ติดเลยแหละ วันนั้นก็หมกมุ่น แต่งบ้าน ซื้อเฟอร์นีเจอร์ เล่นเกมส์ยังโกงเงินในเกมส์อีกนะ ฮ่าๆๆ  บ่งบอกนิสัยเลย คนไทยมักจะเห็นผลิตเกมส์มาขาย แล้วก็มีหนังสือสูตรโกงเกมส์ทำมาตาม ๆ กัน  สอนให้โกงตั้งแต่เล็ก  แต่แม่ดาวเลิกเล่นไปนานแล้วนะคะ ส่วนเกมส์อื่น ๆ ก็ไม่ค่อยติด เห็นจะมีอีกเกมส์ ที่เคยเล่นกับลูก ก็ Plant vs Zombie อันนี้ลูกเป็นคนส่งเสริมสนับสนุนให้เราติดเกมส์ ติดไปพักนึง และเรียกสติตัวเองกลับมาฮ่าๆๆ  พลาดค่ะพลาด ลูกมามอมเมาแม่ให้ติดเกมส์

        นี่ขนาดเราเป็นผู้ใหญ่มีความคิดที่คิดว่าน่าจะดีแล้ว ยังติดเลยค่ะ แล้วเด็ก ๆ เยาวชนจะไปเหลือเหรอค่ะ เกมส์มันก็คือตัวกิเลศดี ๆ นี้เอง มอมเมา เยาวชนเนอะ  ส่วนเกมส์ที่สร้างสรรค์ ๆ ก็เห็นว่ามีอยู่นะคะ  เห็นลูกก็เคยเล่นกับป๊าเขา แต่มันไม่สนุกเร้าใจเท่าเกมส์พวกต่อสู้ ฯลฯ เขาก็จะชอบเกมส์แบบนี้มากว่า  เกมส์ที่ใช้สมอง ไม่ใช้ความรุนแรง สัญชาติญาณผู้ชายมันไม่ได้ ชีวิตคือการต่อสู้ ฮ่าๆๆ 

        เอาเป็นว่าก็พอจะเข้าใจ รับได้นะกับการเล่นเกมส์ แต่ต้องปลูกฝัง ปูพื้นความคิด แม่ดาวไม่ห้ามลูกเล่นเกมส์นะคะ ให้เล่นได้ แต่ต้องมีกำหนดเวลา และขอร้องว่าให้เล่นเกมส์ที่มันสร้างสรรค์หน่อยนะลูก   โดยเราเป็นคนเสนอทางเลือกให้เขาเช่น จะเล่น 10 หรือ 15 นาที ครับ ลูกเป็นผู้เลือกเองค่ะ    ส่วนเรื่องเกมส์ที่เขาเล่นบางครั้งหากป๊าเขาเล่นเกมส์พวกที่ไม่สร้างสรรค์ ทำลายสมองลูก ทำลายพื้นฐานโครงสร้างจิตใจที่แม่ดาวอุตส่าห์ก่อร่างสร้างเอาไว้ ก็ต้องมีการตักเตือนทั้งป๊าและลูก   ป๊าเนี้ยยากค่ะ เข้าใจกันยากจริง ๆ เหมือนจะเข้าใจแต่ก็ทำไม่ได้  ยับยั้งชั่งใจไม่ได้  ลูกนี่ดีกว่าค่ะ เขารู้จักยับยั้งชั่งใจ

        หลังที่ผ่านการบำบัด อบรม พูดคุยเรื่องพิษภัยจากการเล่นเกมส์แล้ว เขาก็ดีขึ้นมาก หลัง ๆ ไม่เรียกว่าติดแล้ว ใช้คำว่าชอบเล่นแทนฮ่าๆๆ  คืออาการไม่ถึงขนาดลืมตาตื่นมาเรียกหาแท็บเล็ต กลับมาจากโรงเรียนร้องหาเแท็บแล็ต ที่ช่วงนึงที่ซื้อมาแรก ๆ เป็นเลย ตอนนี้เขาควบคุมตัวเองได้ดีเลย    ครั้งหนึ่งป๊าแอบไปเล่นเกมส์ในห้อง และลูกก็เดินเข้าไปเห็น เขาก็เดินออกมาฟ้องเราว่า “แม่ครับ ป๊าเล่นเกมส์รุนแรงไม่สร้างสรรค์อีกแล้ว แม่ช่วยไปดุป๊าหน่อย ดีโด้จะอดใจไม่ไหวอยู่แล้ว”  ได้ยินประโยคนี้แล้วแม่ดาวก็อดอมยิ้ม ภูมิใจในความคิดของลูกไม่ได้ค่ะ 

        มาในส่วนของคุณหมอต่อ  คุณหมอบอกว่าแท็บเล็ตอาจเป็นสื่อนำไปสู่เกมส์ออนไลน์ต่าง ๆ ได้  แต่ตรงนี้ทางท่านวรพัฒน์ก็กล่าวประมาณว่าศักภาพของแท็บเล็ตที่แจกมันไม่ได้ทำอะไรได้มากมายนัก  มันก็น่ากลัวนะคะ หวั่น ๆ ใจเหมือนกัน

        ท่านเสนอว่าควรมีมาตรการในการจัดการป้องกัน เช่น ให้เด็กลงทะเบียนก่อนเข้าใช้เว็บต่าง ๆ โดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรืออาจทำระบบล็อคเครื่องว่าหากเล่นเกมส์ให้เล่นได้ 2 ชม.เท่านั้น  หรือมาตรการกับร้านเกมส์ ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เข้าร้านเกมส์ได้ในช่วง 4-6 โมงเย็นเท่านั้น  ฯลฯ  มันก็เป็นเพียงการเสนอความคิดเห็นนะคะ ส่วนคนที่เขามีอำนาจนั้นเขาจะเห็นพ้องและนำไปคิดต่อยอดทำต่อหรือไม่อย่างไร เราประชาชนชาวไทยก็ต้องคอยติดตามลุ้น ๆ กัน
        คุณหมอเล่าถึงตัวอย่างเด็กอ้วนคนนึงเป็นคนไข้ของคุณหมอ  อยู่แค่ชั้นป.5  เข้ามารักษาตัว มีน้ำหนักตัวถึง 270 กก. เขาติดเกมส์มาก ติดมาเป็นปี ใช้ชีวิตแทบจะอยู่แต่ในร้านเกมส์ เล่นเกมส์ยันสว่าง ไม่ยอมไปโรงเรียน ขณะที่เข้ามารักษาตัวก็ขอยืมโน้ตบุ๊คของนักศึกษาแพทย์เล่นเกมส์อีก  มียืมบัตรเครดิตผู้ปกครองเตียงข้าง ๆ เพื่อไปซื้อไอเท็มเกมส์ต่างๆ สรุปพ่อแม่ต้องมาใช้หนี้ประมาณ 7000 บาท

        แม่ดาวได้ฟังแล้ว ก็ปวดใจแทน สงสารทั้งเด็ก และครอบครัว  สถาบันครอบครัวนี่แหละค่ะจุดสำคัญของการเริ่มต้นทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่าง สิ่งแวดล้อม สังคมภายนอกอื่น ๆ มันก็ต้องส่งผลกระทบกันบ้าง แต่หากครอบครัวเราอบอุ่นมากพอ มีการปลูกต้นจิตสำนึกให้เติบ
โตมั่นคงแข็งแรง  ลูกเราอาจไม่ต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมายเหล่านี้  หรือหากเกิด แต่ไม่น่าจะหนักหนาเกินจะเยียวยา แก้ไขได้

        มีอีกเรื่องการดูทีวีจะทำให้เด็กพูดได้ช้า  พอพูดถึงเรื่องนี้แล้ว แม่ดาวนึกถึงเด็กคนนึง ที่เขาเป็นเพื่อนเล่นกับน้องดีโด้น่าจะเล่นกันมาตั้งแต่ 2 ขวบ  หากจำไม่ผิดเขาพูดได้ตอนประมาณ 3 ขวบได้แล้ว และพูดเป็นคำ ๆ  ส่วนพูดเป็นประโยคเนี้ยน่าจะหลังจากเข้าเรียนนะคะ ถ้าจำไม่ผิด  เกิดจากแม่เขาไม่มีเวลาเลี้ยงลูก เพราะทำงานหาเลี้ยงชีพ และเขาเองก็ติดละครทีวีมากๆๆๆๆ    เวลาลูกอยู่คนเดียวก็จะเปิดทีวีให้ลูกดู ใช้ทีวีเลี้ยงลูก  เขาก็ไม่อยากทำนะคะ เขาบอกว่าเขารู้ แต่ไม่รู้จะทำวิธีไหน ด้วยตัวเขาเองก็ไม่ได้มีการศึกษาอะไรมากนักด้วย  คิดออกคือวิธีนี้ง่ายด้วย ได้ผลด้วย แต่เขายังไม่เห็นผลระยะยาวของมัน

        ช่วงหลัง ๆ มานี่ไม่ค่อยมีเวลาได้พาไปเล่นด้วยกันเท่าไหร่  กิจกรรมแม่ดาวกับลูกเยอะในช่วงเลิกเรียน ก็เลยห่าง ๆ กันไป จำได้ว่าครั้งนึง ที่พามาเล่นด้วยกัน ซึ่งแม่ดาวก็จะเล่นอยู่กับเขาด้วย  ให้กระดาษคนละ 1 แผ่น ให้เขาวาดโรงเรียนของแต่ละคน  น้องดีโด้ได้ยินปุ๊บก็จับดินสอวาด ๆ ลาก ๆ ไปตามประสา  ส่วนเด็กคนนี้เขานั่งงง และมองหน้าเรา  เราก็เอ๊ะ....หรือเขาจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูดนะ  เลยย้ำช้า ๆ อธิบายเยอะ ๆ เขาก็เข้าใจและบอกว่า  วาดไม่เป็น ไม่รู้จะวาดยังไง  นี่ไงค่ะผลของการที่เด็กดูทีวีตลอด ๆ สมองด้านความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการแบบเด็ก ๆ ของเขาถูกเจ้ากล่องสี่เหลี่มสูบกลืนหายไปในกล่องดำ  ดีโด้มีแถมขอวาดอีกภาพ อยากจะวาดโลกในจินตนาการของตัวเองอีกภาพ  วาดเสร็จก็มานั่งเล่าบรรยายให้แม่และเพื่อนฟัง

        แต่เด็กคนนี้เขาเป็นเด็กที่มีพื้นฐานจิตใจดีนะคะ  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  มีความขยันเรียนมาก เขาชอบเรียนหนังสือมาก หนังสือพวกเส้นประ แม่ดาวซื้อให้กี่เล่ม พร้อม ๆ ดีโด้ เขาเขียนหมดภายในเวลาไม่กี่วัน  น่าเสียดายที่เขาไม่ได้รับการส่งเสริมในเรื่องการพัฒนาสมองตามวัย   แม่ดาวเข้าใจพ่อแม่เขามากนะคะ  เคยคุยกันเรื่องนี้หลายครั้ง พูดโน้มน้าวจนวันหนึ่งเขาก็ขอให้เราช่วยซื้อหนังสือเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกมาให้เขาอ่านบ้าง  ซื้อมานานแล้วค่ะ ไปถามทุกวันนี้หนังสือเล่มนั้นก็ยังอ่านไม่จบ  ก็ยังติดละครเหมือนเดิม  แต่เขาชอบให้แม่ดาวคุยให้ฟังมากกว่า เวลาไป เขาก็จะถามว่าลูกเป็นยังงี้นะ ทำยังไง  แต่เขาขอแบบแก้ปลายเหตุนะคะ ฮ่าๆๆ รู้ตัวด้วยนะ ว่าปัญหาอยู่ที่ตัวเองซะเยอะ แต่ถ้าจะให้แก้ไขตัวเองทำไม่ได้  

        คุณหมอพูดถึงเรื่อง เด็กติดเกมส์ นั้นเป็นปัญหาใหญ่ของคนทั่วโลก  จิตแแพทย์ทั่วโลก กำลังจะจัดอาการติดเกมส์นี้ให้อยู่ในกลุ่มโรค “โรคติดเกมส์”  “โรคติดอินเตอร์เน็ต”  น่ากลัวขึ้นทุกวันนะคะ   ถึงไม่ต้องจัดว่ามันเป็นโรค แม่ดาวมองว่ามันก็เป็นโรคมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีแล้ว เป็นอะไรที่ต้องเยียวยารักษา บำบัด  แค่เพิ่งจะเห็นความสำคัญ ตระหนักเห็นชัดในปัจจุบัน

        ส่วนโรค “บ้าซื้อของ”  “บ้าความงาม”  ไม่รู้ได้จัดเป็นโรคหรือยัง คืออะไรทีมันเกินพอดี มากเกินไป มันก็ชัดเจนนะคะ ว่ามันเป็นเรื่องผิดปกติ  ต้องรักษา  เราเองหลง ไม่รู้สึกตัว เลยไม่รู้ว่า นี่แหละเราเป็นโรค มีอาการทางจิตแล้ว ต้องพยามมีสติค่ะ พอสติมา ปัญญาจะเกิด เราจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่าเราเป็นไหม  ไม่แน่ใจก็ไปพบจิตแพทย์ถามเลย ว่าใช่ หรือไม่ 

        คนสุดท้าย คุณอรุณี  อัศวภาณุกุล ผู้แทนผู้ปกครองเด็กที่ได้รับแท็บเล็ต  ได้กล่าวถึงปัญหาที่ตัวเองพบ เช่นเต้าเสียบปลั๊กเพื่อชาร์ตไฟของโรงเรียนไม่เพียงพอ แต่ยังไม่ได้รับมาใช้อย่างจริงจัง มีการแจ้งประชุมผู้ปกครองให้เข้ามารับแท็บเล็ตเพื่อถ่ายภาพเป็นหลักฐานว่าได้รับจริงไว้ก่อน  ส่วนตัวเครื่องยังเก็บไว้ที่โรงเรียนอยู่  มีความสงสัยในเรื่องการดูแล ว่าจะเก็บไว้ที่ไหนยังไง  เพราะไม่อยากนำกลับมาที่บ้าน หากเสียแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย  ฯลฯ  

                ฟัง ๆ แล้วก็นะคะ เห็นหลาย ๆ ปัญหามากมาย  แต่คุณอรุณีของมองถึงแง่ดีว่า ในนั้นมีการลงเพลงเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ด้วย ปลูกจิตสำนึกที่ดีในการรักและเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์เนอะ  อันนี้ก็เห็นด้วย  และกล่าวว่าจากความเห็นส่วนใหญ่ของผู้ปกครองที่โรงเรียนนั้นก็ชื่นชอบ ยินดีมากกับกับที่ลูกจะได้รับแท็บเล็ต มันก็คนละมุมมองเนอะ  ต่างคนต่างความคิด 

        หลังจากจบ 4 ท่านนี้ก็มีผู้ขอร่วมแสดงความคิดเห็นอีกมากมาย  ส่วนใหญ่(มาก)ก็คิดเห็นเป็นแนวทางเดียว ๆ กัน คือไม่เห็นด้วย  มองว่าไม่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้   มีท่านนึงพูดถึงเรื่องหากมีแท็บเล็ตเพื่อสร้างโอกาสความเท่าเทียมกันทางการศึกษาให้เด็ก มองว่าแล้วทำไมผันเอางบประมาณพวกนี้ไปทุ่มกับการเสริมสร้างศักยภาพให้ครู พัฒนาครู  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เทคโนโลยี อันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่งเช่นกัน   มีอีกท่านที่ประทับใจเป็นตัวแทนคนพิการตาบอด ออกมาเรียกร้องสิทธิว่า หากอยากทำเช่นนั้นจริง คนตาบอดก็เหมือนไม่ได้รับสิทธินั้น เขาจะได้อะไรจากแท็บเล็ตนี้ เยาวชนกลุ่มนี้เขาก็มีอยู่บนโลกนะคะ  อีก 1 มุมมองที่ตัวเองไม่ได้คิดถึงจุดนี้เลย
       
        สรุปคือ ทุกอย่างที่พูด ๆ กัน เสวนากัน นั้น แต่ละคนก็คงมีคำตอบอยู่ในใจที่แตกต่างกันไป  จะลดหรือเพิ่มปัญหาสังคม ก็แล้วแต่ว่าใครคิดยังไง   แม่ดาวได้คำตอบให้ตัวเองชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้ทราบข่าวนี้แล้ว  ถึงจะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเด็ก ไม่ได้มีความรู้ลึก รู้กว้าง สายตากว้างไกลอะไรมากนัก  แต่ก็มองว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการที่จะให้เด็กในวัยประถม 1 ได้ใช้แท็บเล็ต เห็นตรงกับแพทย์หญิงจันทร์เพ็ญ ว่าไม่ได้ต่อต้าน แค่ค้านว่าไม่ใช่วัยนี้ได้ไหม ควรเตรียมความพร้อมทุก ๆ อย่างให้ดีเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ ผู้สอน คนในครอบครัวที่จะดูแลในการใช้งาน ระบบการจัดการ มาตรการดุแลต่าง ๆ ฯลฯ มันยังมีอื่น ๆ อีกมากมายค่ะ 

        แต่ทำไงได้หากนโยบายมาแล้ว เราก็ต้องรับ อย่างที่บอก ยอมรับ เรียนรู้ อยู่กับปัจจุบันค่ะ  หาวิธีอยู่กับสิ่งนี้ให้ได้แบบเราไม่ทุกข์มาก ส่งผลกระทบให้น้อยที่สุดเท่าที่เราจะสามารถ  ก็พวกเราเป็นพ่อแม่พันธุ์ใหม่กันใช่ไหมค่ะ สู้ ๆ นะคะ อย่าท้อ  ปัญหามีไว้ให้เราแก้ ไม่ได้มีไว้ให้เรากลุ้มนะคะ
  
               

เก็บตกงานเสวนา “แจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ลดหรือเพิ่มปัญหาสังคม”

        ช่วงนี้แม่ดาวชีพจรลงเท้าอย่างมาก มีเรื่องให้ต้องเดินทางไม่ไห้หยุด วันนี้เป็นอีก 1 วันที่สัญจรไปร่วมงานเสวนาดังกล่าว  ไปด้วยอาการงง ๆ  รู้จักแต่เขาดิน รัฐสภาไม่รู้จักซะงั้น นี่ถิ่นเก่านะเนี้ย จบมาจากราชภัฎสวนดุสิต ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต  ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมจะต้องเปลี่ยนชื่อเนอะ  ทุกอย่างล้วนเป็นการสมมติทั้งสิ้น เอานั่น...นอกเรื่องซะงั้น  
        ไปถึงงานปุ๊บก็เจอคนที่อยากเจอมากที่สุดปั๊บ คือ คุณสรวงมนฑ์ สิทธิสมาน ผู้จัดรายการวิทยุคลื่น 105 FM รายการพ่อแม่พันธุ์ใหม่หัวใจเกินร้อย ออกอากาศทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00 น.-9.00 น.  รายการนี้เหมาะมากๆ สำหรับพ่อแม่อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ อิอิ  มีสาระความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ดี ๆ มากมาย หลากหลาย แม่ดาวแนะนำไปบ่อย ๆ นะคะ ว่ารายการนี้ดีจริง ๆ อยากให้ฟัง เอามาลงในบทความซะเลย  เผื่อใครที่ไม่เคยติดตามอ่านกันตั้งแต่ต้นจะได้ทราบด้วยเนอะ   คุณสรวงมณฑ์ มาในนามผู้ดำเนินการเสวนา และเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการฯ   งานนี้จัดโดย คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
        หัวข้อวันนี้ ดูจะเป็นประเด็นร้อนจริง ๆ แต่ละท่านที่มาเข้าร่วมการเสวนาต่างจัดหนัก จัดเต็ม กันแทบจะทุกคน   ส่วนวิทยากรผู้เข้าร่วมอภิปรายหลัก ๆ จะมี 4 ท่านค่ะ
1.      นายวรพัฒน์ ทิวถนอม  รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        แม่ดาวจับใจความได้ว่า  การแจกแท็บเล็ตนั้นเพื่อต้องการสร้างโอกาสความเท่าเทียมกันทางการศึกษาในสังคม  และมีผู้สนับสนุนแนวความคิดนี้จากผู้ร่วมเสวนา 1 ท่าน ที่ใช้ว่า 1 ท่านไม่ใช้ ท่านหนึ่ง เพราะมีคนเดียวจริง ๆ ที่พูดออกไมค์กระจายเสียงแล้วเป็นการสนับสนุนในเรื่องนี้  มองว่าการมีแท็บเล็ตจะเป็นการต่อยอดความคิดของเด็กได้ดี  หากทางบ้านมีการดูแลอย่างใกล้ชิด อบอุ่น และโรงเรียนดี ก็ไม่เป็นปัญหา  ฟังแล้วก็มีหลาย ๆ คำถามสงสัยอยู่ในหัวมากมาย รู้สึกเลยว่าวันนี้จิตใจไม่ปกตินะ ค่อนข้างจะอคติกับเรื่องนี้อยู่เป็นทุนเดิม  พอได้ฟังแล้วก็วุ่นวายใจ หายใจแรงผิดปกติ 555   
        แล้วถ้าบ้านอบอุ่นแล้วโรงเรียนไม่เอื้ออำนวยล่ะ  แล้วส่วนใหญ่คนในสังคมก็อย่างที่เห็น ๆ กันอยู่พ่อแม่มุ่งหาเงินเลี้ยงชีพกันเป็นหลัก ลูกเป็นรอง ถึงมักจะพูดกันว่าที่ทำ ๆ เพื่อลูก ก็เถอะ  แต่ความคิดกับการกระทำมันสวนทางกันอย่างแรงนะคะว่าไหม  หากเราทำเพื่อลูกเราจริง หลาย ๆ บ้าน หลาย ๆ ครอบครัวก็คงไม่ประสบปัญหามากมายอย่างเช่นทุกวันนี้  แม่ดาวเข้าใจนะคะกับหลาย ๆ ครอบครัวที่ต้องช่วยกันทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว  แต่เราก็สามารถมีเวลาคุณภาพ เวลาอบอุ่น เวลาแห่งความสุขให้ลูกเราได้ไม่แพ้กับแม่ดาวเลย  
        หลายคนมักมองว่าแม่ดาวมีชีวิตที่น่าอิจฉาเหลือเกิน ได้ออกจากงานมาเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ได้มีเวลาคุณภาพกับลูกเต็ม 100   แม่ดาวอยากจะบอกนะคะว่า  การทำงานบ้าน หากได้ทำเองจริง ๆ มันมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย  เป็นงานทีทำได้ไม่รู้จักจบสิ้น มีอะไรให้ทำได้ตลอด ๆ ถ้าจะเราจะทำ  เมื่อก่อนแม่ดาวก็แบ่งเวลาไม่ค่อยจะเป็น กลายเป็นว่าแทนที่ได้อยู่บ้านทำกิจกรรมสร้างสรรค์กับลูกก็ไม่รู้หายไปไหนหมด  เคยตำหนิตัวเอง ว่าเรานี่แย่มาก ทั้ง  ๆ ที่มีเวลาอยู่กับลูกแท้ ๆ ยังปล่อยเวลาที่มีค่าผ่านไปแบบไม่ทันรู้ตัว   1 วัน ผ่านไปไวเหมือนโกหก  นี่ก็ 5 ปีผ่านไปเหมือนละครซีรีย์   
        ไม่ว่าจะแม่ที่ทำงานในบ้าน หรือแม่ที่ทำงานนอกบ้าน หากไม่รู้จักแบ่งเวลาให้เป็นก็ไม่ต่างกันหรอกค่ะ   ปัญหาสังคมมีเพิ่มขึ้นมากมายและกระจายตัวไปทั่วทุกสารทิศ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่สังคมเมืองหลวง สังคมต่างจังหวัดก็เป็นแบบนี้กันเยอะมากขึ้น   แล้วจะเอาบ้าน ครอบครัวที่อบอุ่นจากไหน 
        ส่วนเรื่องมาตรการเรื่องการเข้าเว็บที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ท่านก็ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนแน่นอน ว่าฟันธง เข้าไม่ได้แน่ ๆ  นะ  รับประกัน  ฟังแล้วก็เพลียหัวใจชอบกล  

2.      แพทย์หญิงจันทร์เพ็ญ  ชูประภาวรรณ  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและพัฒนาการเด็ก,นายกสมาคมนักวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และนายกสมาคมนพลักษณ์ไทย
        ท่านนี้ สำหรับแม่ดาวนะคะยกให้เป็นที่สุดของงาน ฮ่าๆๆ ชอบเป็นการส่วนตัว  พูดชัดเจน ตรงประเด็น ไม่หมกเม็ด  ท่านบอกว่าเทคโนโลยีทำให้เราสูญเสียความสามารถของสมอง  ท่านยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การจำเบอร์โทรศัพท์ จากเมื่อก่อนท่านสามารถจดจำเบอร์โทรศัพท์คนสำคัญต่าง ๆ ได้มากมาย ปัจจุบันการ์ดความจำให้เครื่องโทรศัพท์ที่ท่านใช้ได้ทำหน้าที่นี้แทนให้แล้ว  ทำให้สมองของท่านไม่สามารถจำเบอร์บุคคลสำคัญต่าง ๆ ได้  ฟังแล้วคิดตาม จริงที่สุดค่ะ  ลองทบทวนตัวเองดูนะคะ ว่าช่วงก่อนหน้าที่เราจะมีโทรศัพท์มือถือ ท่านจำเบอร์ต่าง ๆ ของคนสำคัญได้ไหม  เปรียบเทียบกับปัจจุบันซิว่าเราเป็นเป็นที่แพทย์หญิงท่านนี้กล่าวไว้หรือไม่  นี่ขนาดยังไม่ได้พูดถึงเด็กนะคะ  ดูที่ตัวเรานี่แหละ
        ตัวแม่ดาวเองก็เป็นปัจจุบันที่ยังจำเบอร์บางคนได้ นั่นเพราะเป็นชุดความทรงจำเดิมของสมอง ส่วนเบอร์ใหม่ ๆ ที่ไหลเข้ามาใหม่นั้น ไม่สามารถจำได้เลย  ขนาดเป็นเบอร์แม่ของตัวเอง แต่ท่านเปลี่ยนเบอร์ใหม่  เราก็จำได้แต่เบอร์เก่าที่เคยโทร.สมัยก่อน เบอร์ใหม่จำไม่ได้แหะ แต่เบอร์เก่าเนี้ยปัจจุบันมันยังอยู่ในสมองอยู่เลยนะ  
        จำได้ว่าสมัยก่อนที่ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือ ก็จะมีสมุดจดเบอร์โทรศัพท์เล็ก ๆ เป็นแบบแม่เหล็กดูดหากใครจำได้เนอะ  ลวดลายน่ารักๆ ด้วยนะ ฮ่าๆๆ  เวลาที่เราจดเอาไว้ แล้ว เบอร์ไหนที่เราโทรบ่อย ๆ ก็ต้องมาหยิบเปิดดู แล้วกดตามหมายเลขที่ละตัว ๆ ส่วนมากสมัยนั้นก็จะโทรจากตู้สาธารณะซะส่วนใหญ่ และอีกเรื่องที่จำได้คือรอคิวนานมากๆๆๆๆ   เรามีธุระด่วน ต้องรอคิวจากนักศึกษาทั้งหลาย ณ วัยนั้น เขาก็มีความรักกันแหละเนอะ ก็คุยนาน คุยยาว  ไอ้เราไม่มีกับเขา แต่มีธุระก็รอต่อคิวไป ฮ่าๆๆ อ้าว...นอกเรื่องอีกแล้ว   แต่ก็อยากให้เห็นภาพชัด ๆ ว่า อันที่จริงการที่เราล้าสมัยไปบ้างตกยุคไปบ้าง บางทีมันก็มีข้อดีมากมายนะคะว่าไหม ยิ่งเราพึ่งพาเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ เหมือนสมองของเราก็ยิ่งทำงานน้อยลงไปเรื่อย ๆ หรือเปล่าค่ะ แม่ดาวคิดว่าสมองแม่ดาวมันเป็นแบบนั้นนะ    
        คุณหมอพูดถึงเรื่องรูปแบบของการทำงานของสมอง  สรุปเอง ดังนี้ค่ะ
-          สมองสัตว์เลื้อยคลาน  คือ การคิดแบบที่จะเอาตัวรอด ทำอย่างไรชีวิตถึงจะอยู่รอดได้
-          สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  คือ การคิดแบบที่ต้องการอยู่รวมกันเป็นสังคม รักพวกพ้อง
-          สมองมนุษย์  คือ การคิดแบบมีเหตุผล  (อันนี้ลืมจดแต่จำมาผิดเปล่าไม่แน่ใจฮ่าๆๆ) หากใครที่ได้เข้าฟังรบกวนมาย้ำกันอีกครั้งนะคะ
               
        เด็กปฐมวัย  ควรเรียนรู้ทุกอย่างจากของจริง ให้เขาได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี  เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีทุกชนิดไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย  ควรสอนให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ได้   
        คุณหมอพูดถึงเรื่องไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ดูโทรทัศน์เลย  เพราะสมองของเด็กยังไม่สามารถแยกแยะเรื่องจริง กับเรื่องในโทรทัศน์ได้ ท่านกล่าวถึงรายการสารคดีดังมากรายการนึง ที่หลาย ๆ ท่านก็อาจมองว่ามันดี มีประโยชน์ซะเหลือเกินกับเด็ก ๆ  เช่น สัตว์ออกลูกมาเป็นไข่ ตัดภาพมาให้เห็นว่าสักพักก็จะกลายเป็นตัว แล้วตัดภาพมาว่าสักพักก็เติบโต พัฒนาการต่าง ๆ เหล่านี้ เด็กเห็นก็จะไม่เข้าใจ  อาจเข้าใจผิดว่า มันสามารถเกิดขึ้นได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนในทีวี เป็นต้น
        ทีวี มีแค่ 2 สัมผัส คือ เสียง และภาพ เท่านั้น จึงไม่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีให้เด็ก ๆ ได้
        เรื่องนี้แม่ดาวเห็นด้วยมาก ๆ นะคะ  แต่ตัวเองก็ทำไม่ได้ฮ่าๆๆ  ลูกตัวเองก็ดูทีวีเช่นกัน แต่ไม่ได้ปล่อยให้ดูเรื่อยเปื่อยนะคะ  ส่วนมากจะดูแบบมีกำหนดเวลา โดยที่ลูกเป็นคนเลือก และเราเป็นคนให้ทางเลือก แม่ดาวจะย้ำ ๆ ถึงผลเสียของการดูทีวีกับลูกบ่อย ๆ  ลูกแม่ดาวชอบดูช่องการ์ตูนย์เน็ตเวิร์ค  ติดมาจากพี่ข้าง ๆ ห้อง เขาชอบดู  ที่ขำคือ ก่อนหน้านี้ลูกแม่ดาวเข้าใจว่าช่องการ์ตูนย์ทั้งหลายเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เนื่องจากแม่ดาวแอบเปลี่ยนภาษาเป็นภาษาอังกฤษหมด อันที่จริงก็ไม่ได้อยากให้ดูเท่าไหร่ค่ะ แต่ทำไงได้ สังคมมันพาไปด้วย  ตัวเราก็ส่วนนึง ตัวเองเมื่อก่อนก็ติดทีวี  
        แม่ดาวไม่ใช้คำว่าติดทีวีกับลูก เพราะลูกไม่ติด เขาแค่ชอบ  แต่หากเราชวนเขาเล่นด้วยกัน เขาพร้อมจะปิดทีวีและเดินมาเล่นกับเราทันที  ยอมรับว่าตัวเองก็ต้องอาศัยทีวีบ้างในการดึงความสนใจ เพราะเขาติดแม่ดาวมาก บางอย่างที่เราทำเขาก็ทำด้วยไม่ได้ เช่น รีดผ้า เป็นต้น เราก็เอาเพลงเต้น ๆ บ้าง การ์ตูนย์บ้างให้ดู แต่ไม่ได้ใช้ประจำนะคะ  ใช้บ้าง   มีอีกกรณีคือเราไม่ไหว ไม่สบาย หรือเหนื่อยมากต้องการพักผ่อนยาวหน่อย  เขาอยู่คนเดียวไม่ได้  หากเราขอพัก เขาก็จะขอดูทีวี  อันนี้คือหลังจากเบื่อจะเล่นกับทุก ๆ สิ่งในบ้านแล้ว   แต่จำได้ว่าใจช่วงเล็ก ๆ วัยก่อนเข้าเรียน แรกเกิด- 3 ขวบ ลูกแทบไม่ได้ดูทีวีน้อย กว่าในปัจจุบันมากมายนัก   
        มีหลาย ๆ เรื่องที่เขาไม่ได้ดู เวลาเพื่อนคุยที่ห้องเรียน เขาก็คงอึดอัด คุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง เลยอยากจะดูบ้างก็มี  อันนี้ก็ต้องคุย ต้องดูกันเป็นเรื่อง ๆ ไป   สำหรับตัวเองนะคะ  คิดว่าให้ลูกดีได้ค่ะ  แต่เราต้องดูกับลูกคอยบอก ชวนพูดคุย ไม่ใช่ปล่อยให้ลูกดูคนเดียวดีที่สุดหากทำได้เนอะ  ส่วนผลกระทบ ผลเสีย เรารู้อยู่แล้ว ก็ต้องยอมรับ เรียนรู้กันไปนะคะ

        มาต่อกันที่คุณหมอ
        เด็กวัยประถมศึกษา   เหลือเวลาไม่มากที่เด็กจะเปลี่ยนข้อมูลจากของจริงมาสู่การเข้าใจ “นามธรรม” หรือกฎเกณฑ์ที่สำผัสจริง ๆ ไม่ได้ เช่น แรงโน้มถ่วง ความดี เชื่อมข้อมูลรูปธรรมกับกฎเกณฑ์ที่เป็นนามธรรมให้ดี (แบบง่าย ๆ ) เทคโนโลยีจึงไม่เหมาะกับกระบวนการนี้
        ควรระวังอย่างมากสำหรับเด็ก เราควรสอนให้เขามีความเป็นมนุษย์ให้มากที่สุด เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น  เราควรเลือกใช้ว่า  เมื่อไหร่ควรใช้  เมื่อไหร่ควรสอน การสอนให้เด็กเรียนรู้ต้องสอนแบบเป็นขั้นตอน เริ่มจาก 1 ก่อน แล้วต่อเป็น 2 3 4  ไม่ใช่กระโดดข้ามขั้น คุณหมอยกตัวอย่างเรื่อง การสอนเด็กใช้มีด คุณหมอถามว่าเราควรสอนเด็กให้ใช้มีดอย่างไร  เมื่อไหร่    ยกตัวอย่าง สอนเด็กเล็กให้รู้จักมีดก่อน ว่ารูปร่างแบบนี้นะ มันคือ มีด  มีดเป็นของมีคม อันตรายยังไง จับยังไง ถือยังไง ใช้ยังไง ทำให้ดู ทำให้เห็นจริง  สัก 2 ขวบให้เขาลองใช้มีดแบบที่ไม่มีคม ลองใช้ฝึกใช้ดู  จากนั้นสักประมาณ 4 ขวบสอนให้ใช้จริง ๆ มีดจริง ๆ    
        ลูกแม่ดาวปัจจุบัน 5 ขวบ จำได้ว่าก็สอนเขาแบบนี้เลยค่ะ  และจำได้ว่าเขาได้ใช้มีดจริง ๆ หั่นจริง ๆ ช่วยแม่ทำกับข้าวหั่นผัก  ช่วยกันทำผัดผักรวมมิตรสักประมาณเกือบ ๆ 5 ขวบ ก่อนหน้าก็ให้เขาช่วยหั่นผักที่หั่นง่าย ๆ หน่อย โดยใช้มีดทาแยมนี่แหละ  อันนี้สอนแบบคิดเอง แต่ตรงกับคุณหมอบอกเลยนะเนี้ย ภูมิใจฮ่าๆๆ  แอบโดนตำหนิจากสามีด้วยนะว่าทำไมให้ลูกใช้มีดจริงหั่นผัก  ตอนที่เขาเห็นเนี้ยลูกใช้มาสัก 2-3 ครั้งได้แล้วแหละค่ะ  แต่ต้องระวังอย่างมากนะคะ  ต้องดูแลใกล้ชิดมาก ๆ  แม่ดาวให้เขาทำเองจริง แต่อยู่ตรงนั้นตลอดเวลาที่ลูกทำค่ะ
        คุณหมอยกตัวอย่างต่างประเทศ เขาเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ในวัยปฐมวัย เขาสอนให้เด็กเรียนรู้คอมพิวเตอร์จากการที่เอาคอมพิวเตอร์เก่ามาแกะแยกส่วนเป็นชิ้น ๆ สอนกันทีละขั้นตอน  ก่อนที่จะมาเป็นภาพและเสียงต่าง ๆ ให้เห็นนั้น ข้างในมันทำงานยังไง มีอะไรบ้าง แต่ละตัวมันทำงานกันอย่างไร  เจ๋งเนอะ สอนกันแบบนี้บ้างไหม บรรเจิดสุด ๆ นะ  เดี๋ยวจะขอร้องสามีให้เอาคอมพิวเตอร์เก่า ๆ มาแงะ แกะ สอนลูกบ้างดีกว่า  ไอ้ตัวเราเนี้ยไม่มีความรู้ด้านนี้ต้องอาศัยสามี ไม่รู้จะร่วมมือไหมฮ่าๆๆ ต้องลองเจรจาดู
        สรุป ของคุณหมอ เรื่องแท็บเล็ตกับเด็ก ป.1 มองว่าไม่เหมาะสมกับวัยนี้  ควรปูพื้นฐานให้มั่นคงเสียก่อน ลงเสาเข็มให้แข็งแรงมั่นคงก่อน  แท็บเล็ตนั้นคุณหมอเปรียบเทียบเป็น “หลังคา” ค่ะ  มันเป็นขั้นตอนสุดท้าย แม่ดาวเห็นด้วยกับคุณหมอค่า
ส่วนจะลดหรือเพิ่มปัญหาสังคมนั้นก็ข้ามไป มันก็เห็น ๆ นะคะ ว่าไหม   สังคมนะคะ สังคมส่วนใหญ่ เกิดอะไรก็เห็น ๆ กันอยู่ เนอะ  ลดหรือเพิ่มก็ให้กลับไปคิดกันเองจ้า    

        แม่ดาวเคยไปอบรมเรื่องสำนึกแห่งวินัย หัวใจแห่งการเรียนรู้ เมื่อนานมากแล้วก็พูดถึงเรื่องพัฒนาการของสมองและพฤติกรรมคล้าย ๆ แบบนี้  สมองจะมีการทำงาน 3 ส่วน คือ ส่วนสัญชาติญาณ ทำหน้าที่ในการเอาตัวรอด  ส่วนต่อมาคืออารมณ์  และสุดท้ายคือเหตุผล  ที่คนส่วนใหญ่ใช้กันน้อยเหลือเกิน

        คนเราส่วนมากใช้สมองส่วนไหน หรือสมองแบบไหนมากที่สุด  ทายซิค่ะ  ..........สมองสัตว์เลื้อยคลาน หรือสัญชาติญาณ ค่า  คือ คิดแบบที่จะเอาตัวรอด  สังคมถึงวุ่นวายกันมากมายกันอย่างที่เห็น หากเราใช้สมองในส่วนเหตุผลกันมากกว่านี้ก็คงจะดีมาก แต่สมองในส่วนเหตุผลนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเลี้ยงดูปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ๆ  สิ่งแวดล้อมด้วย  เราละเลยในจุดนี้กันมาก  มุ่งแต่จะหาวัตถุ หาเครื่องมือ สร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ คิดว่าจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพของคน แต่เปล่าเลย คน(ดี)ต่างหากที่จะสร้างคนให้เป็นคน(ดี)ได้ไม่ใช่เทคโนโลยี เราใช้ได้แต่ไม่ใช่หวังพึ่งเสียทุกอย่าง ยังไงซะเราก็ต้องสร้างคนดี ด้วยคนดีนี่แหละดีที่สุด ทั้งหมดนี่ความคิดเห็นแม่ดาวนะคะ คิดว่าน่าจะสอดคล้อง และมีบางอย่างที่ตรงกับคุณหมอแหละเนอะ    

        สิ่งที่ได้รับมายังไม่หมดนะคะ แต่เวลาหมด และหมดแรงแล้วค่า เอาไว้ต่อภาค 2 นะคะ