วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาบุคคลิกภาพลูกสู่สังคมอาเซี่ยนและสังคมอย่างไร

 
        ยุ่งจนลืมไปเลยค่ะ เลยไม่ได้ถ่ายทอดออกมา ณ หลังจบกิจกรรม ข้อมูลเลยละลายหายไปกับอากาศซะเยอะ  ฮ่าๆๆ ความจำดีมากไงค่ะ กิจรรมนี้ตั้งแต่เดือนก่อนแล้วด้วย  สมองต้องได้รับการบำรุงซ่อมแซมด่วน  ต้องทำตามคุณหนูดี บอกซะแล้ว  เมื่อวานก็เริ่มเลยนะคะ เข้านอนเร็ว ปกติลูกหลับ ก็จะย่องมาสวดมนต์ นั่งสมาธิบ้าง  พิมพ์บทความบ้าง หาความรู้บ้าง  ตั้งใจไว้ว่าจะดูแลคุณสมองของตัวเองซะบ้าง เขาจะได้แข็งแรงและอยู่กับเราไปนาน ๆ  ปกติความจำแย่มากฮ่าๆๆ  

        2 กิจกรรมแรกหากไม่หลับตามลูกไปเสียก่อนจะพยายามทำต่อเรื่อย ๆ ค่ะ เพราะเป็นการบริหารจิตและสมองไปในตัว แต่คิด ๆ ไว้ว่าอาจจะเปลี่ยนเวลามาทำตอนเช้าตรู่แทน ถ้าตื่นนะคะ ฮ่าๆๆ กิเลศ ตัวขี้เกียจ เนี้ยยิ่งตัวใหญ่ซะด้วยสำหรับตัวเอง

        เอาล่ะเข้าเรื่องค่ะ เอาจากที่พอจะจดและจำได้นะคะ วิทยากรในวันนั้นเขาขึ้นชื่อไว้ 2 ท่าน คือ
ดร.แพง ชินพงศ์  การศึกษา
- ปริญญาตรี ศิลปศาสตบัณฑิต เอกดนตรี ม.เกษตรศาสตร์
- ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต เอกปฐมวัย ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต เอกดนตรี จาก Trinity College,
Sacramento, California, USA. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต เอกดนตรี
จาก Sacramento State University, California, USA.
- ปริญญาเอก สาขาดนตรีศึกษา จาก Sacramento State University,
California, USA.

ดร.สุภาพร   เทพยสุวรรณ  การศึกษาปริญญาเอกด้านปฐมวัย จากต่างประเทศ (จดไม่ทันและหาข้อมูลไม่เจอค่ะ)
และมีอีกท่านที่มาบรรยายพ่วงให้เป็นภาษาอังกฤษล้วน ๆ คือ ดร.จอนร์น  เป็นผู้ให้คำปรึกษาครอบครัว สามีของดร.สุภาพร เทพยสุวรรณ  สิ่งที่จะนำมาถ่ายทอดจะเป็นแค่ 2 ท่านนะคะ  ท่านสุดท้ายเนี้ย แม่ดาวไม่สามารถฮ่าๆๆ ฟังรู้เป็นคำ ๆ แต่ฟังรวมกันเนี้ยไม่รู้เรื่อง แต่เรื่องที่ท่านพูด และตัวเองฟังรู้เรื่อง บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่แม่ดาวพอมีความรู้อยู่แล้วเช่นการใช้ I message  และ P.E.T  คืออันนี้มีหนังสือที่แปลมาแล้วก็เลยสบาย ๆ ไม่รู้เรื่องแต่พอมีฐานความรู้อยู่ในสมองแล้ว เลยไม่เครียดที่ฟังไม่รู้เรื่องฮ่าๆๆ

ขอแบ่งปันสัก  2   เรื่อง นะคะ เป็นเรื่องที่ตัวเองประทับใจ และจำได้จากสมองอันน้อยนิด 
        1. แม่ดาวถามคำถามกับ ดร.แพง ว่า  ดนตรีคลาสสิค หรือดนตรีที่มีแต่ท่วงทำนอง กับดนตรีที่มีเนื้อร้องต่างกันอย่างไร  ทำไมใคร ๆ มักพูดถึงแต่ว่า ให้ลูกฟังดนตรีคลาสสิค  ซึ่งตัวเองเนี้ยแต่ก่อนไม่เคยจะชอบฟังดนตรีคลาสสิคเลยฮ่าๆๆ  จำได้ตอนท้องอ่านหนังสือเขาบอกว่าให้คุณแม่ฟังเพลงคลาสสิค จะส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีต่ออารมณ์และสมองของลูก ก็เลยตั้งใจไว้ว่าจะต้องฟัง อะไรที่เขาว่าดีจัดไป
        แม่ดาวก็บอกสามี และสามีก็จัดให้  แต่เพลงที่เขาเลือกมาให้เนี้ย แต่ละเพลงฟังไม่ได้เลยจริง ๆ  ฟังแล้วรู้สึกเครียด กระสับกระส่าย รำคาญหูอย่างยิ่ง  พยายามจะฟัง แต่เมื่อฟังแล้วไม่สบายใจ ไม่มีความสุข สุดท้ายเลย ทำเป็น mp 3 ใส่ลงเครื่องและใส่หูฟังจิ้มไปที่ท้องแทน บอกลูกว่า ฟังนะคะลูก เพลงคลาสสิคเนี้ยดีสำหรับลูกนะคะ ในใจคิดต่อ แต่มันหนวกหูสำหรับแม่ เอิ้กๆๆ            
        ผลครั้งนั้นคือ ลูกแม่ดาวในท้อง เมื่อเอาเสียงเพลงคลาสสิคนี้อัดใส่ที่ท้อง แต่ก็ไม่ได้เปิดเสียงดังมากนะคะ เอาแบบคิดว่าลูกน่าจะได้ยินแบบสบาย ๆ  กำลังนอนสบาย ๆ มือก็จับหูฟังจิ้มท้องไป สักพักลูกดิ้นพรวดพราด เหมือนสะดุ้ง ตกใจ แม่ดาวก็ตกใจเพราะลูกดิ้น คือเขาดิ้นแบบสะดุ้งสุดตัว แม่ดาวก็เลยเอาหูฟังมาใส่ฟังว่าเพลงไหน สรุปว่าเป็นเพลงเดียวกับที่แม่ดาวก็ฟังแล้วรำคาญหู  ฟังเพลงนี้ทีไรเครียดทุกทีฮ่าๆๆ
        คือไม่ใช่ทุกเพลงที่เราหงุดหงิดกับมัน แต่บางเพลงก็ไม่ไหว ฟังแล้วไม่สบายใจแถมหงุดหงิด กระสับกระส่ายอีกต่างหาก  พยายามอยู่สักพัก สุดท้ายก็หันมาฟังในสิ่งที่ตัวเองชอบคือฟังเพลงธรรมดา ๆ ที่ชอบฟัง แต่ก็ไม่ล้มเลิกการฟังเพลงคลาสสิคนะคะ ไปหาซื้อด้วยตัวเอง และลองมาเปิดฟัง ใช้ความรู้สึกของตัวเองบอก ไม่ได้ยึดตามข้อมูลที่หามาได้ว่าชื่อเพลงไหนยังไง  สุดท้ายก็ได้ค่ะ ไปชอบฟังแนวที่เป็นเสียงเพลงและมีเสียงธรรมชาติด้วย ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกสบาย ๆ เลยคาใจมาจนปัจจุบัน
        คำตอบคือ เพลงคลาสสิค ไม่ใช่จะเหมาะสมให้ลูกฟังได้ทุกเพลงค่ะ บางเพลงเขาแต่งมาจากอารมณ์เศร้า หดหู่ ท้อแท้ โกรธ เราก็ไม่มีความรู้นี่นะ จะรู้ไหม ก็มันไม่มีเนื้อร้อง บอกนี่นะว่าฉันโกรธ ฉันเกลียด ตัวเองก็ไม่มีความรู้เรื่องดนตรีด้วย สามียิ่งแย่กว่า   แค่ฟัง ๆ เขาว่าดนตรีคลาสสิค ก็คลาสสิคตาม ฟังแบบไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่มีสมองฮ่าๆๆ 
        ส่วนเพลงที่มีเนื้อร้อง ควรเลือกให้เหมาะสมเช่นกัน เนื้อหาให้เหมาะสมกับวัยของลูกด้วย  การฟังเพลงที่มีเนื้อร้องและดนตรีคลาสสิคหรือดนตรีที่มีแค่ท่วงทำนองนั้น ควรให้ลูกฟังเท่า ๆ กัน เพราะ ดนตรีที่มีแต่ทำนองจะช่วยในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์  ที่ฟังมาท่านไม่ได้บอกนะคะว่ามันพัฒนาสมองได้อย่างไรแน่ชัด แต่ที่แน่ ๆ คือเรื่องส่งเสริมด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 
        ดร.แพง แนะนำให้เปิดเพลงที่มีทำนองอย่างเดียวให้เด็กฟังและให้เด็กจินตนาการวาดภาพออกมาจากความรู้สึกที่ได้ฟังผ่านเสียงเพลง  ส่งเสริมด้านจินตนาการได้ดีมาก และแม่ดาวว่าส่งเสริมด้านการฝึกสมาธิที่ดีด้วยนะ  อันนี้ลองทำมาแล้วค่ะหลังจากฟัง ....น้องดีโด้ก็ตามประสาเด็กบ้าพลัง ฟังได้ไม่นาน เพลงนุ่มนวลไพเราะ พี่ท่านวาดทหารรบกับพม่ารามัญ เย้ย.....เอานะ ต้องเข้าใจเขาแหละ เด็กผู้ชายและเขาก็ชอบเล่นพวกนี้กับพ่อเขาด้วย พวกรุนแรง ๆ เนี้ย 
        ส่วนดนตรีที่มีเนื้อร้อง ที่ควรให้ฟังด้วยเพราะเด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ และเพลงสามารถปลูกจิตสำนึกที่ดีได้มากมายเช่น ล้างมือบ่อย ๆ ล้างมือบ่อย ๆ   , อย่าทิ้งขยะนะเธอ ลูกเป็ดเขาเจอเดี๋ยวเขาดุเอา , เช้านะ เช้าแล้ว ปลุกหนูขึ้นมาแปรงฟัน เจอกับฉันทุกวัน ตอนเช้านั้นและก่อนเข้านอน ฯลฯ มีมากมายหลายเพลงนะคะ  
        จะดีมากหากเราสอนลูกเต้นไปด้วยตามเพลง  เขาได้ฝึกหลายอย่างเลยนะคะเนี้ย  บางทีก็เปิดเพลงที่มีเนื้อร้องให้ลูกฟัง และให้เต้นเองตามความคิด เคยทำกันไหมค่ะ สนุกนะคะ ผลัดกันเต้น เหมือนในหนังฉันเต้นเธอหยุด เธอเต้นฉันหยุด ส่ง-รับกันไป หรือบางทีเต้นพร้อม ๆ กัน โดยใครนำก็ว่ากันไป สนุกจริง ๆ นะคะ
        สรุปคือ ควรให้ลูกฟังทั้งเพลงที่มีแค่เสียงดนตรีและเพลงที่มีทั้งดนตรีและเนื้อร้องจ้า

        2.   เรื่องเด็กผู้หญิงกับตุ๊กตาบาร์บี้ ใครมีลูกสาวบ้างค่ะ  เด็กผู้หญิงในยุคปัจจุบันคงหากยากนะคะ ที่ไม่รู้จักตุ๊กตาบาร์บี้ หลานสาวแม่ดาว 3 สาวรู้จักทุกคน  ดร.สุพาพร บอกว่าไม่แนะนำให้ซื้อตุ๊กตาบาร์บี้มาให้ลูกเล่น มีงานวิจัย หรืออะไรสักอย่างจำไม่ได้ บอกว่า หากเราให้เด็กเล่นตุ๊กตาบาร์บี้จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมเลียนแบบ คืออยากจะมีหุ่นดีแบบบาร์บี้  คือสูงยาว ขาวสวย  เอวคอด สะโพกผาย ไหล่ตึง หน้าอกเด้งดึ้งใหญ่บึ้ม แต่งตัวเยอะ ๆ ต้องแต่งหน้าทาปาก  อันนี้อธิบายจากความเข้าใจของตัวเองนะคะ  
        แล้วถ้ากรรมพันธุ์ไม่ใช่แบบนี้แล้วเล่นบาร์บี้ล่ะคะ  ผลลัพท์น่ากลัวนะคะ เด็กจะรังเกียจตัวเอง ไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ตัวเองเป็น ขาดความมั่นใจในตัวเองไปเลย  มีหลานสาวอีกคนตอนนี้อายุ 9 ขวบแล้วรู้จักบาร์บี้แน่ ๆ ค่ะ เขาไม่พอใจในสิ่งที่เขาเป็น เขาอยากขาว เพราะไม่ขาว อยากผอมหุ่นดีเพราะเขาอ้วน อยากสวย 
        อันที่จริงความต้องการที่แท้จริงของเขาคือ เขาต้องการการยอมรับจากสังคม และต้องการอยากเป็นที่รักของทุก ๆ คน  เขาคิดเองว่าการที่เขามีหน้าตา ผิวพรรณและรูปร่างแบบนี้ สังคมจะไม่ยอมรับแน่ ๆ แบบนี้สังคมส่วนใหญ่จะไม่ชอบ ไม่ถูกเป็นที่รักหากยังเป็นแบบนี้
        เรื่องนี้แม่ดาวได้แนะนำกับทางผู้ปกครองไปแล้วว่าควรทำอย่างไร  การสอนให้เด็กรู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น สิ่งที่ตัวเองมีเป็นเรื่องสำคัญมาก  หากเราไม่ปลูกฝังเรื่องพวกนี้ตั้งแต่เล็ก ๆ โตไป ก็ต้องมีปัญหาตามมามากมายไม่รู้จบ เช่น อนาคตคงต้องหาทางไปศัลยกรรมแน่ ๆ เสียเงิน และหากเสียไปถึงสุขภาพด้วยล่ะค่ะ  
        กระแสสังคมในปัจจุบันแรงมาก เด็ก ๆ ในปัจจุบันอยากเป็นดารา นักแสดง นักร้อง อาชีพในฝันของเด็ก ๆ ส่วนใหญ่ หรือก็เป็นความฝันของพ่อแม่ด้วยเช่นกัน  ดูจากรายการต่าง ๆ ก็เห็น มีแต่การประกวด แข่งขัน แย่งชิงกันเพื่อจะเป็น ดาว  แล้วสิ่งที่หลาย ๆ คนก็มองข้ามไปคือความ ดี   คิดว่าทุก ๆ คนคงเห็นค่ะว่าการสอนให้ลูกเป็นคนดี นั้นดีนะ แต่ไม่ลงมือทำสักที  ปล่อยไปเรื่อย ๆ ตามกระแส ตามกิเลศของตัวเอง หลงกันเยอะ
        แม่ดาวเองก็มีหลายครั้งที่โดนความ ขี้เกียจ ครอบงำ แต่ก็พยายามสลัด ขัดเกลาทุกวันนี้ก็คิดว่าดีขึ้นเยอะมากแล้วค่ะ 
        มาแบบเนื้อหากันบ้าง   กำเนิดบุคคลิกภาพมาจากพันธุ์กรรมหรือสิ่งแวดล้อม
        คำตอบคือ ทั้ง 2 อย่างรวมกันค่ะ  งานวิจัยบอกว่าอารมณ์มาจากพันธุ์กรรม แต่สามารถปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นได้จริงไหมค่ะ 
        ส่วนสิ่งแวดล้อม คือ
1.การได้รับสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือสุขภาพดี อารมณ์ก็ดีตามเนอะ
2.ต้นแบบ คือ พ่อแม่ หรือผู้ที่เลี้ยงดูเด็ก
3.การเรียนรู้ของเด็ก

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย คือ
-    ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
-    ไม่รู้ว่าความคิด ความรู้สึกของตนแตกต่างไปจากของผู้อื่น
-    ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรักและสนใจ
-    มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
-    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองเล่น
-    มีอารมณ์ความรุนแรง มีความอิจฉาริษยาสูง
-    มีการเรียนรู้ การปรับตัวเข้ากับเพื่อน
-    ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่
หาเราเข้าใจธรรมชาติของเด็ก  สายตา ความคิดที่เรามีต่อเขาจะเปลี่ยนไปค่ะ จากที่เคยมองว่าลูกชั้น หลานชั้นมีปัญหา หากใช้สายตาที่เข้าใจ เราจะเข้าใจและยอมรับความเป็นตัวของเขาได้ไม่ยาก จริงไหมค่ะ

เด็ก วิ่ง ๆ  เดิน หกล้ม หกลุก  แต่หนูสนุก ได้เดิน ได้วิ่ง ขอให้ทุกคนรักหนูจริง ๆ ถึงหนูจะวิ่งหกล้มหกลุก 

จดมาจากที่เข้าฟังบรรยายค่ะ  ตีความหมายกันเองนะคะ เข้าใจแล้วลองวางใจให้เป็นกลางนะคะ อุเบกขา ข้อนี้สำคัญมาก ๆ หลาย ๆ คนทำไม่ได้  มันก็ไม่ใช่จะทำได้เลยนะคะ มันต้องฝึกฝน อดทนที่จะทำ แม่ดาวเองก็ต้องฝึกฝนตลอด ๆ เช่นกันจ้า

ผ่านไปอีก 1 เรื่องราวดี ๆ นะคะ ที่เก็บมาฝากกัน  ของฝากแม่ดาวเยอะนะเนี้ย