วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่องเก่า...มาเล่าใหม่ สรุปความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ปี 2554

ความรู้ และข้อคิด ได้เก็บเกี่ยวได้จากการประชุมวิชาการ

วันที่ 4 ต.ค. 54 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสได้เข้าร่วมฟังการประชุมวิชาการ "พลังบวกเพื่อเด็ก" โดยเลือกเข้าห้องประชุมย่อยเป็น ห้องที่ 2 เรื่องคิดสร้าง คิดสรรค์ ด้วยปัญญา ในห้องนี้ก็จะบรรยายเรื่องการสร้างวินัยเชิงบวก โดย ครูใหม่และครูหม่อม และก็จะมีพูดในเรื่องของการทำงานของระบบประสาท การทำงานของสมอง โดย ดร. 2 ท่าน จำชื่อไม่ได้อ่ะ ชือ อ.จ้อน กับอ.ก้อย เปล่าน้อ ในเรื่องนี้ถ้าพ่อแม่คนไหนที่เคยฟัง หรือเคยอ่านหนังสือของครูใหม่ครูหม่อมก็คงรู้กันดีแล้วเนอะ ฟังแล้วก็ยิ่งทำให้มั่นใจกับการใช้ 101 มากยิ่งขึ้น แต่ที่ประทับใจสุด ๆ คือความน่ารัก ความห่วงใย กำลังใจ แนวทางแก้ไข และพลังใจ ที่ครูทั้ง 2 ยังมีให้อย่างมากมายเสมอ

ช่วงบ่าย เลือกเข้าฟังในห้อง 6 คิดเป็น วิเคราห์ได้ ด้วยการศึกษาแนวประยุกต์ ตอนแรกไม่คาดหวังอะไรมากมายจริง ๆ คิดเองว่าคงน่าเบื่อแน่ ๆ แต่ก็ฟังนะ พอเข้าไปฟังจริง ๆ โอ้.....ดีนะไม่กลับบ้านไปก่อน ได้ความรู้ และความสนุกด้วยนะ ทำให้ได้รู้จัก กับ ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน ได้รู้จักกับคำว่า "จิตตปัญญา" ประทับใจและชอบเป็นการส่วนตัว ใครสนใจแนะนำให้หาอ่านได้จากใน jitwiwatbolg ตัวเองเข้าไปถามว่าสนใจเรียนรู้เรื่องนี้จะหาอ่านได้ยังไง ตอนนี้เจอข่าวน้ำท่วมเข้าไปยังไม่ได้เข้าไปอ่านเลยจริง ๆ แต่ดีมาก ๆ ที่ฟังมา มีหลาย ๆ ประโยคเด็ดที่ท่านพูดในเรื่องระบบการศึกษาไทย ฟังแล้วโดนใจและขำกระจายตามไปเหมือนกัน

เช่น ปัจจุบันยิ่งเรียนสูงมาก จะยิ่งรู้ลึก แต่โง่กว้าง , สถาบันการศึกษามีผู้สอน มีผู้ถูกสอน แต่มีผู้เรียนรู้อย่างแท้จริงไหม, เราต้องรู้จักให้รางวัลแก่ตัวเราเอง โดยไม่ต้องรอหรือคาดหวังรางวัลจากคนอื่น ฯลฯ

ขอสรุปเองประมวลผลรวม ๆ เองจากเช้าและบ่าย

การสร้างวินัยเชิงบวกให้กับเด็ก

1. เรา ต้องมีแนวคิดบวกเป็นอันดับแรก พูดง่าย แต่ทำยากเนอะ ทุกวันนี้ก็พยายามทำตลอด ๆ ตั้งแต่คิด พูด ทำ ทุกอย่างต้องบวก มีวิธีฝึกด้วยนะคะ เช่น เขียนไดอารี่ 3 สิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้บอกด้วยว่าทำไมสิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น สิ่งดี ๆ นั้นมีความหมายกับเราอย่างไร และ ทำอย่างไรสิ่งดี ๆ นั้นจะเกิดขึ้นกับเราอีกในอนาคต เอามาจากที่ไปประชุมนั่นแหละค่ะ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ก็ช่วยได้ แต่ทำยากชิมิ ฯลฯ หากเราทำเพราะทำจากใจ ไม่ได้แค่ท่องจำมาทำ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเห็นชัดมากค่ะ คือท่อง ๆ มาทำ แต่ไม่ได้รู้สึกจริง ๆ มันก็เหมือนแบบเล่นละครไม่เก่ง เล่นแข็ง คนดูเห็นแล้วก็ไม่อินตามอ่ะค่ะ

2. เราต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับลูก ที่จริงเราก็ควรจะมีกับทุก ๆ คนนั่นแหละเนอะ ที่จริง หากทำข้อ 1 ได้ แล้ว ข้อ 2 เนี้ยก็น่าจะง่ายขึ้นนะคะ

3. เราต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างลึกซึ้ง อันนี้ถ้าไม่เข้าใจไปหาอ่านเพิ่มได้นะคะจากหนังสือ พูดกับลูกอย่างไร ฟังลูกพูดอย่างไร เค้าจะมีการอธิบายและยกตัวอย่างมากมาย ขออธิบายสั้น ๆ คือ เป็นการฟังอย่างมีสติ ฟังอย่างไม่ด่วนตัดสิน ไม่ด่วนพิพากษา ฟังแล้วรู้จักที่จะสะท้อนความรู้สึกของคนเล่า แล้วก็จะทำให้คนเล่าสบายใจ รู้สึกปลอดภัย ฟังแล้วอยากที่จะเล่าต่อโดยไม่ปิดบัง เรื่องนี้สำคัญจริง ๆ ข้อนี้ ทำยากมาก ๆ เลยสำหรับตัวเอง

4. เราต้องมีวิธีที่เหมาะสมด้วย ก็อย่างใช้ 101 ของครูใหม่ ครูหม่อมเนี่ยค่ะ เลิศมาก ใช้ดีจึงบอกต่อ

5. ความ ถี่ที่เราทำ ต้องทำซ้ำ ๆ ทำบ่อย ๆ ขอย้ำทำบ่อย ๆ ไม่ใช่พูดบ่อย ๆ บ่นบ่อย ๆ เตือนบ่อย ๆ ไม่ช่วยค่ะ เคยทำแล้วไม่ดีเลย คำพูด สู้การกระทำไม่ได้จริง ๆ อยากให้เค้ารู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจ เราก็ต้องทำให้เค้าดูบ่อย ๆ และสร้างสถานการณ์ให้เค้าทำด้วยบ่อย ๆ เราต้องเป็น ซุปเปอร์โมเดลให้เค้าดีที่สุด ข้อนี้ก็เป็น 1 กระบวนท่าใน 101 นะคะ


สิ่งที่ขอเน้น เพราะที่ไปฟังเค้าก็เน้นย้ำคือ จิตสำนึกที่ดี การสร้างวินัยที่ดี และความรู้ ไม่ได้เกิดจากการสั่งสอน การบังคับ การทำให้กลัว(การทำโทษ) แต่เกิดจากภายในตัวของผู้เรียนรู้เอง เราต้องเป็นคนช่วยกระตุ้นให้ลูกของเค้าเกิดการเรียนรู้และยอมรับด้วยความ รู้สึกที่แท้จริงด้วยตัวเค้าเอง

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น